บริบทตำบล

1 ความคิดเห็น:

  1. ประวัติความเป็นมา
    ตำบลหัวดง แต่เดิมสภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบ หลังจากมีผู้คนจากหลายพื้นที่อพยพมาอยู่ ถากถางป่า ทำให้ป่าโล่งเตียนลงแต่ก็ยังคงสภาพป่าอยู่ จึงตั้งชื่อว่า ตำบลหัวดง ลักษณะการปกครองเดิมจะปกครองเป็น 2 ส่วน คือ สภาตำบลและสุขาภิบาล ปัจจุบันเปลี่ยนการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล มีการรวมตัวของชุมชนเพื่อหาสมาชิกกลุ่ม และดำเนินการคัดเลือก คณะกรรมการแต่ละฝ่ายเสร็จแล้วขอความร่วมมือจากเทศบาลตำบลหัวดง จัดทำโครงการจัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546 และมีการดำเนินงานของร้านค้าเศรษฐกิจชุมชนจนกระทั่งปัจจุบัน
    กศน.ตำบลหัวดง ตั้งอยู่ในวัดหัวดง เลขที่ 14 หมู่ที่ 7 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66170 บริเวณชั้นล่างของอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมโดยได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาสวัดหัวดงให้การสนับสนุนอาคารสถานที่เป็นแหล่งการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน
    กศน.ตำบลหัวดง มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดโครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน
    ขนาดพื้นที่ ที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ
    ตำบลหัวดงมีเนื้อที่โดยประมาณ 29,951 ไร่ หรือ 50,401 ตารางกิโลเมตร ตำบลหัวดงเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน คือแม่น้ำน่าน ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสามารถทำได้ตลอดทั้งปี

    ที่ตั้งตำบลหัวดง












    ตำบลหัวดงเป็นหนึ่งในสิบหกตำบลของอำเภอเมืองพิจิตร อยู่ห่างจากตัวเมืองพิจิตรประมาณ 17
    กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 350 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านบุ่ง , ตำบลฆะมัง อำเภอเมืองพิจิตร
    ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลฆะมัง , ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมืองพิจิตร
    ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลหัวดงเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน คือ แม่น้ำน่าน ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสามารถทำได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นยังมีระบบการชลประทานที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมตลอดฤดูกาล การตั้งถิ่นฐานของประชาชนในตำบลหัวดงมีทั้งแบบการรวมกลุ่มเป็นชุมชน และกระจายเป็นรายหลังคาเรือนตามแม่น้ำและถนนหลักของหมู่บ้าน

    ตอบลบ